นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเซมเมลไวส์ ที่บูดาเปสต์ ในฮังการี ทำการศึกษาพบว่าการนอนกรนเสียงดังพร้อมกับหยุดหายใจเป็นพักๆนั้น มีส่วนเกี่ยวพันกับปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น
วารสาร สลีป รายงานการวิจัยว่า จากการสัมภาษณ์ชาวฮังการี 12,643 คน นักวิจัยพบว่าคนที่นอนกรนเสียงดังมีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจวายเพิ่มขึ้น 34 เปอร์เซ็นต์ และมีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตกเพิ่มขึ้น 67 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่นอนกรน พร้อมกันนี้ยังได้คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่น อายุ เพศ ดรรชนีมวลกาย โรคเบาหวาน ระดับการศึกษา การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา มาร่วมพิจารณาด้วย
การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าการกรนเป็นประจำนั้น พบได้ในกลุ่มผู้หญิง 24 เปอร์เซ็นต์ และ 40 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มผู้ชาย ทั้งชายและหญิงมีแนวโน้มจะกรนมากขึ้นเมื่อแก่ตัวลง
ที่มา: ไทยรัฐ/ข่าววิทยาการ. ปีที่ 59 ฉบับที่ 18313 วันที่ 12 มีนาคม 2557
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น